รู้ไหมคะว่า การกลั้นหรืออั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพร่างกายได้ในอนาคต ด้วยความหวังดี #เซอร์เทนตี้กูรู จะพาไปทุกคนไปดูว่า การกลั้นปัสสาวะส่งผลเสียอะไรได้บ้าง พร้อมบอกวิธีดูแลระบบทางเดินปัสสาวะค่ะ

ระวัง! อั้นหรือกลั้นปัสสาวะนานๆ อันตรายกว่าที่คิด

25 กุมภาพันธ์ 2568
แชร์

ระวัง! อั้นหรือกลั้นปัสสาวะนานๆ อันตรายกว่าที่คิด

สำหรับท่านไหนที่ชอบอั้นหรือกลั้นปัสสาวะเอาไว้นานๆ กลั้นบ่อยๆ หรือปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ต้องทนปวดหรือฝืนกลั้นไปก่อน เพราะสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย รู้ไหมคะว่าหากทำพฤติกรรมนี้บ่อยๆ อาจส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพร่างกายได้ในอนาคต ด้วยความหวังดี #Certainty จะพาไปทุกคนไปดูกันว่า ส่งผลเสียอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีดูแลระบบทางเดินปัสสาวะกันค่ะ

ทำความรู้จักกลไกการกลั้นปัสสาวะ 
ช่วงที่กระเพาะปัสสาวะมีปริมาณของเหลวครึ่งนึง ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นจะถูกกระตุ้นไปยังสมอง ส่งผลให้รู้สึกปวดปัสสาวะ แต่หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยหรือหาห้องน้ำเข้าไม่ได้ สมองของคนเราจะส่งสัญญาณกลับไปให้กลั้นปัสสาวะเอาไว้ ซึ่งปัจจัยในการขับปัสสาวะของแต่ละบุคคลนั้นจะแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น อายุ, ปริมาณของปัสสาวะ, ช่วงเวลาของวัน ซึ่งปกติแล้วคนเราจะไม่ค่อยปวดปัสสาวะในตอนนอน เพราะร่างกายกำลังได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ รวมทั้งความถี่ในการขับของเสียที่อาจมาจากความเครียดได้เช่นกัน

ผลเสียของการกลั้นปัสสาวะ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น… 
1. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การอั้นหรือกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลให้แบคทีเรียเข้าไปสู่ท่อปัสสาวะ อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบขัดขณะปัสสาวะ, ปัสสาวะกระปริดกระปรอย, ปัสสาวะบ่อย แต่ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุด และปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นที่ผิดปกติ 

2. โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
หากกลั้นปัสสาวะนานๆ แคลเซียมจะตกผลึกและเกาะตัวกันเป็นก้อนนิ่ว อาจส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก, ปัสสาวะมีเลือดปน , ปัสสาวะขุ่น ขัด ,ปวดบั้นเอว ,ปวดท้องเฉียบพลันอย่างรุนแรง, คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เป็นต้น 

3. กรวยไตอักเสบ 
เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น อาเจียน มีอาการปวดบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น

การดูแลอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะ 
1. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานเกินไป และพยายามไปห้องน้ำเมื่อรู้สึกต้องการปัสสาวะ และปัสสาวะให้สุด 
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อช่วยล้างเชื้อแบคทีเรียออกจากระบบปัสสาวะ 
3. ทำความสะอาดที่ถูกต้องและถูกสุขอนามัย หลังจากการขับถ่าย ควรล้างหรือเช็ดด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยล้างจากหน้าไปหาทางหลัง
4. พยายามหลีกเลี่ยงกาแฟ และน้ำอัดลม เพราะคาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และก่อนเข้านอนควรลดปริมาณการดื่มน้ำให้น้อยลง 
5. สำหรับผู้หญิงควรฝึกขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้น

เพราะการกลั้นหรืออั้นปัสสาวะนั้นส่งผลเสียสุขภาพมากมาย ดังนั้นต้องอย่าชะล่าใจและควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเข้าห้องน้ำกันด้วยนะคะ

หากท่านไหนต้องเดินทางหรือไม่อยากกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ควรเตรียมความพร้อมด้วยการใส่ตัวช่วยอย่าง ‘กางเกงซึมซับ’ ที่สวมง่าย ใส่สบาย ใส่ได้ทุกวัน สัมผัสนุ่ม และซึมซับปัสสาวะได้ดี แห้งสบาย แค่นี้คุณก็สามารถเดินทางหรือออกจากบ้านได้อย่างคลายกังวลแล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเพชรเวช, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต และ โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา